วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ประโยชน์ของ Soy Protein Isolate ?
ซอย โปรตีน (Soy Protein Isolate)
เป็นโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง อุดมด้วยกรดอะมิโน และไอโซฟลาโวน
คุณประโยชน์ของ ซอยโปรตีน
1. ซอยโปรตีน เป็นโปรตีนคุณภาพดี ให้ปริมาณโปรตีนสูงที่สุดคือมากกว่า 90% เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี
2. เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญ ของเซลล์ร่างกาย มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนตามต้องการของร่างกาย เช่นเดียวกับกรดอะมิโนจำเป็นในเนื้อสัตว์ แต่มีปริมาณไขมันต่ำ และยังเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายในสัดส่วนถึง 85%
3. โปรตีนใน Soy Protein Beverage เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญของเซลล์ ฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง คืนความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เสริมระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันโรค
4. ผ่านการควบคุมมาตรฐานปริมาณ ไอโซฟลาโวน (18mg/scoop) ซึ่งไอโซฟลาโวนทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในธรรมชาติ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน
5. ลดอาการในสตรีวัยทอง เช่นร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน
6. ลดคอเรสเตอรอลในเลือด ส่งผลให้ลดความเสี่ยงของโรคทางหลอดเลือดหัวใจ
7. ป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
8. ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้และ โรคสมองเสื่อม
เป็นโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง อุดมด้วยกรดอะมิโน และไอโซฟลาโวน
คุณประโยชน์ของ ซอยโปรตีน
1. ซอยโปรตีน เป็นโปรตีนคุณภาพดี ให้ปริมาณโปรตีนสูงที่สุดคือมากกว่า 90% เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี
2. เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญ ของเซลล์ร่างกาย มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนตามต้องการของร่างกาย เช่นเดียวกับกรดอะมิโนจำเป็นในเนื้อสัตว์ แต่มีปริมาณไขมันต่ำ และยังเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายในสัดส่วนถึง 85%
3. โปรตีนใน Soy Protein Beverage เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญของเซลล์ ฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง คืนความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เสริมระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันโรค
4. ผ่านการควบคุมมาตรฐานปริมาณ ไอโซฟลาโวน (18mg/scoop) ซึ่งไอโซฟลาโวนทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในธรรมชาติ ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน
5. ลดอาการในสตรีวัยทอง เช่นร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน
6. ลดคอเรสเตอรอลในเลือด ส่งผลให้ลดความเสี่ยงของโรคทางหลอดเลือดหัวใจ
7. ป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
8. ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้และ โรคสมองเสื่อม
Whey Protien เสริมสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างไร?
ส่วนประกอบของ Whey Protien และประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อ มีดังนี้
1. กระอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) เป็นกรดอะมิโนที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องได้จากอาหาร หรือได้จาก Whey Protien ซึ่งเหมาะสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนื่องจากย่อยได้ง่าย และสามารถถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
2. โปรตีน lactalbumin มีกรดอะมิโนแอซิด Branched Chain Amino Acids (BCAAs) ในปริมาณสูง ได้แก่ วาลีน (Valine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) และลิวซีน (Leucine) มีความสำคัญในการช่วยฟื้นฟู เสริมสร้างกล้ามเนื้อ จึงช่วยเพิ่มความคมชัดของกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย โดยในขณะออกกำลังกาย ร่างกายสามารถใช้ BCAAs เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งกล้ามเนื้อจะเปลี่ยน BCAAs ไปเป็นน้ำตาลกลูโคส และพบว่าสามารถให้หลังงานได้ถึง 10-15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการขณะออกกำลังกาย และยังช่วยลดไขมันบริเวณรอบๆช่องท้องได้อีกด้วย
3. Whey protien ยังมี Arginine และ Lysine ในปริมาณสูง โดยอะมิโนแอซิด ทั้งสองตัวนี้ ทำหน้าที่ในการกระตุ้นปลดปล่อย ฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth hormone) ซึ่งเป็น Anabolic hormone หรือตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
4. กรดอะมิโน แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) เป็นกรดอะมิโนแอซิดที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยลดอาการล้าของกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดบทบาทในการสำรองไกลโคเจน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
5. ช่วยกระตุ้นร่างกายในการสร้างกลูต้าไธโอน (Glutathione) การสังเคราะห์กลูตาไธโอนต้องอาศัยกรดอะมิโนบางตัวเป็นสำคัญคือ cystiene (ซิสเตอีน) ซึ่งมีมากในเวย์โปรตีน กลูต้าไธโอนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงตับและมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ เพราะร่างกายจะเกิดสารอนุมูลอิสระมากหลังออกกำลังกาย
ประโยชน์อื่นๆของเวย์โปรตีน
เวย์โปรตีนนอกจากจะเป็นตัวให้กรดอะมิโน เพื่อให้ร่างกายนำไปสร้างโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีแล้ว โปรตีนชนิดต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของเวย์โปรตีนก็มีคุณสมบัติพิเศษ โดยโปรตีนบางชนิด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค บางชนิดช่วยต่อต้าน หรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร และบางชนิดช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มจึงช่วยในการคุมน้ำหนักได้
ข้อแนะนำในการบริโภคเวย์ โปรตีน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ร่างกาย
1. การรับประทานเวย์โปรตีน อย่างน้อยครั้งละ 20-30 กรัม โดยเน้นน้ำหนักของเวย์โปรตีนเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภาวะ hyperaminoacidemia ซึ่งช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย
2. การรับประทานเวย์โปรตีนเพียงวันละครั้งเดียว แนะนำว่าควรรับประทานภายใน 30-60 นาทีหลังออกกำลังกาย เพราะเป็นช่วงที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมาก และกล้ามเนื้ออยู่ในภาวะต้องการอาหาร
3. ส่วนนักกีฬา ถ้าจะรับประทานเวย์โปรตีนมากกว่า 40-50 กรัม แนะนำให้แบ่งรับประทานหลายมื้อ มื้อละ 20-30 กรัม ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนตลอดทั้งวัน
4. สำหรับนักเพาะกายหนักอาจต้องการเวย์โปรตีนมากถึง 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานหลายมื้อ มื้อละ 20-30 กรัม ควรบริโภคภายใน 2 ชั่วโมงของช่วงเวลาออกกำลังกาย อาจจะเป็นก่อนหรือหลังออกกำลังกายก็ได้
วิธีรับประทาน
ผสมเวย์โปรตีน 1 ช้อนตวง (20-30 กรัม) กับน้ำเปล่า น้ำผลไม้ โอวัลติน ไมโล โกโก้ นมสดพร่องมันเนย น้ำเต้าหู้อุ่นหรือเย็น ปริมาตร 1ถ้วย (220-250 มล.) รับประทานตามข้อแนะนำข้างต้น
วิธีการชงตักเวย์โปรตีน 2-3 ออนซ์ (20-30กรัม) ใส่ขวดนมขนาด 8 ออนซ์ แล้วให้นำน้ำที่เตรียมไว้บางส่วน ลงไปผสม พอประมาณเพื่อเขย่า (shake) เสร็จแล้วจึงนำไปผสมกับน้ำที่เหลือ คนให้เข้ากันพร้อมรับประทาน (เวย์ โปรตีน 1 ออนซ์ น้ำหนัก=10กรัม)ข้อควระวังในการบริโภคเวย์โปรตีน
1. การบริโภคเวย์โปรตีน ควระวังในกลุ่มคนที่แพ้ผลิตภัณฑ์จำพวกนม ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้ง่ายกับเวย์โปรตีน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง
2. โดยทั่วไปแล้ว การบริโภคโปรตีนเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ได้รับโปรตีนในปริมาณมากเกินไป เป็นผลทำให้หน้าที่ของไตเสียไป หรือแม้กระทั่งเกิดภาวะกระดูกพรุนตามมา แต่การบริโภค Whey Protein ไม่พบปัญหาการทำหน้าที่ของไตผิดปกติและภาวะกระดูกพรุน
1. กระอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) เป็นกรดอะมิโนที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องได้จากอาหาร หรือได้จาก Whey Protien ซึ่งเหมาะสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนื่องจากย่อยได้ง่าย และสามารถถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
2. โปรตีน lactalbumin มีกรดอะมิโนแอซิด Branched Chain Amino Acids (BCAAs) ในปริมาณสูง ได้แก่ วาลีน (Valine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) และลิวซีน (Leucine) มีความสำคัญในการช่วยฟื้นฟู เสริมสร้างกล้ามเนื้อ จึงช่วยเพิ่มความคมชัดของกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย โดยในขณะออกกำลังกาย ร่างกายสามารถใช้ BCAAs เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งกล้ามเนื้อจะเปลี่ยน BCAAs ไปเป็นน้ำตาลกลูโคส และพบว่าสามารถให้หลังงานได้ถึง 10-15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการขณะออกกำลังกาย และยังช่วยลดไขมันบริเวณรอบๆช่องท้องได้อีกด้วย
3. Whey protien ยังมี Arginine และ Lysine ในปริมาณสูง โดยอะมิโนแอซิด ทั้งสองตัวนี้ ทำหน้าที่ในการกระตุ้นปลดปล่อย ฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth hormone) ซึ่งเป็น Anabolic hormone หรือตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
4. กรดอะมิโน แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) เป็นกรดอะมิโนแอซิดที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยลดอาการล้าของกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดบทบาทในการสำรองไกลโคเจน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
5. ช่วยกระตุ้นร่างกายในการสร้างกลูต้าไธโอน (Glutathione) การสังเคราะห์กลูตาไธโอนต้องอาศัยกรดอะมิโนบางตัวเป็นสำคัญคือ cystiene (ซิสเตอีน) ซึ่งมีมากในเวย์โปรตีน กลูต้าไธโอนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงตับและมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ เพราะร่างกายจะเกิดสารอนุมูลอิสระมากหลังออกกำลังกาย
ประโยชน์อื่นๆของเวย์โปรตีน
เวย์โปรตีนนอกจากจะเป็นตัวให้กรดอะมิโน เพื่อให้ร่างกายนำไปสร้างโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีแล้ว โปรตีนชนิดต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของเวย์โปรตีนก็มีคุณสมบัติพิเศษ โดยโปรตีนบางชนิด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค บางชนิดช่วยต่อต้าน หรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร และบางชนิดช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มจึงช่วยในการคุมน้ำหนักได้
ข้อแนะนำในการบริโภคเวย์ โปรตีน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ร่างกาย
1. การรับประทานเวย์โปรตีน อย่างน้อยครั้งละ 20-30 กรัม โดยเน้นน้ำหนักของเวย์โปรตีนเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภาวะ hyperaminoacidemia ซึ่งช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย
2. การรับประทานเวย์โปรตีนเพียงวันละครั้งเดียว แนะนำว่าควรรับประทานภายใน 30-60 นาทีหลังออกกำลังกาย เพราะเป็นช่วงที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมาก และกล้ามเนื้ออยู่ในภาวะต้องการอาหาร
3. ส่วนนักกีฬา ถ้าจะรับประทานเวย์โปรตีนมากกว่า 40-50 กรัม แนะนำให้แบ่งรับประทานหลายมื้อ มื้อละ 20-30 กรัม ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนตลอดทั้งวัน
4. สำหรับนักเพาะกายหนักอาจต้องการเวย์โปรตีนมากถึง 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานหลายมื้อ มื้อละ 20-30 กรัม ควรบริโภคภายใน 2 ชั่วโมงของช่วงเวลาออกกำลังกาย อาจจะเป็นก่อนหรือหลังออกกำลังกายก็ได้
วิธีรับประทาน
ผสมเวย์โปรตีน 1 ช้อนตวง (20-30 กรัม) กับน้ำเปล่า น้ำผลไม้ โอวัลติน ไมโล โกโก้ นมสดพร่องมันเนย น้ำเต้าหู้อุ่นหรือเย็น ปริมาตร 1ถ้วย (220-250 มล.) รับประทานตามข้อแนะนำข้างต้น
วิธีการชงตักเวย์โปรตีน 2-3 ออนซ์ (20-30กรัม) ใส่ขวดนมขนาด 8 ออนซ์ แล้วให้นำน้ำที่เตรียมไว้บางส่วน ลงไปผสม พอประมาณเพื่อเขย่า (shake) เสร็จแล้วจึงนำไปผสมกับน้ำที่เหลือ คนให้เข้ากันพร้อมรับประทาน (เวย์ โปรตีน 1 ออนซ์ น้ำหนัก=10กรัม)ข้อควระวังในการบริโภคเวย์โปรตีน
1. การบริโภคเวย์โปรตีน ควระวังในกลุ่มคนที่แพ้ผลิตภัณฑ์จำพวกนม ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้ง่ายกับเวย์โปรตีน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง
2. โดยทั่วไปแล้ว การบริโภคโปรตีนเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ได้รับโปรตีนในปริมาณมากเกินไป เป็นผลทำให้หน้าที่ของไตเสียไป หรือแม้กระทั่งเกิดภาวะกระดูกพรุนตามมา แต่การบริโภค Whey Protein ไม่พบปัญหาการทำหน้าที่ของไตผิดปกติและภาวะกระดูกพรุน
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552
คุณรู้จักคอลลาเจน ดีพอหรือยัง?
คอลลาเจน
คอลลาเจนเป็นโปรตีนธรรมชาติที่สำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ในสัตว์ และเป็นโปรตีนที่มีมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย คอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างที่เป็นเส้นใยยาว ทำหน้าที่แตกต่างไปจากพวกโปรตีนที่มีรูปร่างกลม เช่น เอ็นไซม์ คอลลาเจนมีลักษณะเหนียวแต่ยืดไม่ได้ มีแรงต้านแรงดึงสูงมาก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกอ่อน เอ็นต่างๆ ส่วนประกอบโปรตีนที่สำคัญในกระดูกและฟัน คอลลาเจนและเคอราตินมีความเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของผิวหนัง เมื่อมันเสื่อมโทรมลง ความเหี่ยวย่นก็จะปรากฏให้เห็นตามวัยที่เพิ่มขึ้น คอลลาเจนทำให้หลอดเลือดแข็งแรง และมีบทบาทต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อ มันมีอยู่ในแก้วตาและเลนส์ของตาในรูปผลึก คอลลาเจนยังใช้ในศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความงามและศัลยกรรมจากการถูกไฟลวก
องค์ประกอบและโครงสร้าง
หน่วยย่อยโทรโพคอลลาเจน (topocollagen subunit) มีลักษณะเหมือนหลอดยาวประมาณ 300 นาโนเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นาโนเมตร ประกอบขึ้นด้วยสายโพลีเพพไทด์ 3 สาย แต่ละสายเป็นเกลียววนซ้ายและรวมเข้าด้วยกัน บิดเป็นเกลียวเหมือนขดลวดวนขวา โครงสร้างของมันคงตัวด้วยพันธะไฮโดรเจนจำนวนมหาศาล หน่วยย่อยโทรโพคอลลาเจนเข้ามารวมกันเองเป็นผืนใหญ่ขึ้นในที่ว่างนอกเซลล์ของเนื้อเยื่อ สายเกลียวทั้งสามสายยังเกิดพันธะโควาเลนท์ พันกันไปมาระหว่างสาย และระหว่างหน่วยย่อยด้วยกันทำให้เกิดคอลลาเจนชนิดต่างๆ ที่พบได้ในเนื้อเยื่อที่เจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งเป็นสภาวะที่คล้ายกับแอลฟาเคอราตินในเส้นผม
การจัดเรียงกรดอะมิโนในแต่ละสาย เกลียวทั้งสามสายของหน่วยย่อยคอลลาเจนมีลักษณะพิเศษ ลำดับของกรดอะมิโนมักเป็นแบบนี้ Gly–X–Pro หรือ Gly–X–Hypro (ในที่นี้ Gly = ไกลซีน Pro = โพรลิน Hypro = ไฮดรอกซีโพรลี และ X = กรดอะมิโนอื่นๆ รูปแบบ Gly–Pro–Hypro ก็เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน โครงสร้างที่มีหน่วยซ้ำ ๆ กันแบบนี้และมีปริมาณไกลซีนมากจะพบได้ในโปรตีนชนิดเส้นใยอื่นๆ อยู่ไม่กี่ชนิด เช่น ไฟโพรอินของไหม ไหมมีรูปแบบการจัดเรียงกรดอะมิโน –Gly–Ala–Gly–Ala ประมาณ 75-80% โดยมีเซอรีน 10% อีลาสตินมีไกลซีน โพรลิน และอะลานิน (alanine ) สูงมาก การที่มีไกลซีนสูงๆ และรูปแบบการจัดเรียงซ้ำๆ เป็นปกติเช่นนี้ไม่พบในโปรตีนรูปกลม สายเกลียวทั้งสามอัดกันแน่นภายใต้แรงดึง ต้านทานการยืด จึงทำให้คอลลาเจนไม่ยืดเพราะไกลซีนเป็นกรดอะมิโนที่มีขนาดเล็กที่สุด มันจึงมีบทบาทเด่น ในโปรตีนโครงสร้างที่เป็นเส้นใย ในคอลลาเจน Gly จะอยู่ในทุกๆ ตำแหน่งที่สาม เพราะการรวมตัวของสายเกลียวสามสายจะเก็บส่วนนี้ไว้ด้านใน (แกน) ของสายเกลียวเนื่องจากพื้นที่จำกัด ส่วนวงแหวนของ Pro และ Hypro จะชี้ออกจากสายเกลียว กรดอะมิโนทั้งสองนี้ช่วยให้หน่วยย่อยโพรโทคอลลาเจนเสถียรต่อความร้อน ในกระดูกสายเกลียวสามเส้นที่ควบกันจะวางซ้อนกันเป็นแถวหลวมๆ ช่องว่างระหว่างปลายของหน่วยย่อยโทรโพคอลลาเจนอยู่ห่างกัน 40 นาโนเมตร ซึ่งอาจทำหน้าที่เป็นใจกลาง (นิวเคลียส) สำหรับผลึกของเกลือแร่ซึ่งมีลักษณะละเอียด แข็งและยาว มาจับได้แก่ ผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Ca5(PO4)3(OH)) ที่มีฟอสเฟตอยู่ด้วย กระดูกอ่อนอาจกลายเป็นกระดูกได้ด้วยวิธีนี้ คอลลาเจนให้ความยืดหยุ่นของมันแก่กระดูก จึงมีส่วนช่วยป้องกันกระดูกแตก
คอลลาเจนและเนื้อเยื่อ
ในปัจจุบันเรารู้จักคอลลาเจนที่แตกต่างกันมากว่า 25 ชนิด แต่ละชนิดมีรหัสยีนแตกต่างกัน โดยหลักการคอลลาเจนอาจมีได้มากกว่า 10,000 ชนิด แต่คอลลาเจนที่พิสูจน์ทราบได้แน่นอนแล้วมีเพียง 15 ชนิด คอลลาเจนที่สำคัญในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ได้แก่ คอลลาเจนชนิด I, II, III, V และ IX
คอลลาเจนชนิด I เป็นคอลลาเจนหลักของผิวหนังและกระดูก มีมากที่สุดในร่างกาย (ประมาณ 90% ของคอลลาเจนในร่างกาย) คอลลาเจนชนิด II พบในกระดูกอ่อน คอลลาเจนชนิด III พบในผิวหนัง หลอดเลือด และอวัยวะภายในคอลลาเจนชนิด V เป็นคอลลาเจนที่อยู่ในรูปโครงข่าย ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างโพลีเมอร์ ซึ่งทำให้เกิดเป็นชั้นปกคลุมผิวด้านนอก หรือบุผิวที่เป็นโพรง
เนื้อเยื่อของร่างกายไม่ได้มีเซลล์แต่เพียงอย่างเดียว ปริมาตรที่ว่างส่วนใหญ่ที่อยู่นอกเซลล์ของเนื้อเยื่อซึ่งมีโครงข่ายโมเลกุลขนาดใหญ่เกี่ยวพันกันทำให้เกิดเป็นเมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) เมทริกซ์ประกอบด้วย โปรตีนและโพลีแซคาไรด์ชนิดต่าง ๆ ที่ถูกขับออกมาเป็นหย่อมๆ และรวมกันเข้าเป็นโครงข่าย ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเมทริกซ์มักมีมากกว่าเซลล์ที่มันล้อมรอบอยู่ โมเลกุลขนาดใหญ่ที่ประกอบกันเป็นเมทริกซ์มีต่าง ๆ กัน ทั้งชนิดและปริมาณ ก่อให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ เช่น เมทริกซ์ อาจมีลักษณะแข็งซึ่งเกิดจากการสะสมของเกลือแคลเซียมจนกลายเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่งเหมือนหินอย่างเช่น ฟันหรือกระดูก เมทริกซ์อาจใสอย่างเช่นแก้วตา หรือมันอาจปรับตัวให้มีการจัดเรียงตัวเหมือนเส้นเชือก ทำให้เอ็นเกิดแรงต้านแรงดึงสูงมาก ที่รอยต่อของเยื่อบุหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเมทริกซ์ก่อตัวเป็นชั้นฐานซึ่งเป็นแผ่นเหนียวแต่บาง เมทริกซ์มีบทบาทที่ซับซ้อนและว่องไวต่อการควบคุมให้พฤติกรรมของเซลล์ที่มันสัมผัสอยู่เป็นปกติ โดยมีอิทธิพลต่อการพัฒนา การเคลื่อนย้าย การแพร่กระจาย รูปทรงและการทำหน้าที่ของเซลล์
คอลลาเจนหายไปเมื่อวัยสูงขึ้น
โมเลกุลขนาดใหญ่ที่ประกอบกันเป็นเมทริกซ์ชั้นนอกของเซลล์ถูกขับออกมาจากเซลล์ที่เมทริกซ์ล้อมรอบ ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเกือบทุกชนิด โมเลกุลของเมทริกซ์ถูกขับออกจากเซลล์ที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสท์ (fibroblast) ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เฉพาะมากขึ้น เช่น กระดูกอ่อนและกระดูก โมเลกุลของเมทริกซ์ของตระกูลไฟโพบพลาส์ เรียกว่า คอนโดรบลาสท์ (chondroblast) (กระดูกอ่อน) และออสทีบลาสท์ (กระดูก) โมเลกุลที่ประกอบกันเป็นเมทริกซ์นอกเซลล์ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ไกลโคอะมิโนไกลแคน (glycoaminoglycans หรือ GAGs) เป็นสายโซ่โพลีแซคาไรด์ ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับโปรตีนในรูปโพรทีโอไกลแคน ไฟบรัสโปรตีน ซึ่งทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ หน้าที่เกี่ยวกับโครงสร้าง (เช่น คอลลาเจน) และหน้าที่ประสาน (เช่น ลามินิน และไฟโพรเน็กติน)
สารที่ 2 ประเภทมีรูปทรงและขนาดต่างๆ กัน โมเลกุลของสารประเภท GAGs และโพรทีโอไกลแคนในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เกิดเป็นสารพื้นคล้ายเจลที่ชุ่มชื้น มีเฟบรีสโปรตีนฝังอยู่ข้างใน เจลโพลีแซคาไรด์จะต่อต้านแรงที่กดลงบนเมทริกซ์และเส้นใยคอลลาเจนของเมทริกซ์ทำหน้าที่ปรับปรุงแรงต้านแรงดึงให้สูงขึ้น แจลโพลีแซคาไรด์ช่วยให้เกิดการแพร่อย่างรวดเร็วของสารอาหาร สารเมแทบอไลด์ (metabolite) และฮอร์โมนระหว่างเซลล์เลือดและเซลล์เนื้อเยื่อ ใยคอลลาเจนทำให้เมทริกซ์ทั้งแข็งแกร่งและมีความเป็นระเบียบในโครงสร้าง และเส้นใยอีแลสตินที่มีลักษณะคล้ายยางให้ความยืดหยุ่น GAGs เป็นสารประเภทมูโคโพลีแซคาไรด์ (mucopolysacharides) ที่โมเลกุลของมันยาว ตรง และมีประจุสูง มักต่อกับแกนกลางของโปรตีนในเมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ เรียกว่า โพรทีโอไกลแคน ซึ่งได้แก่ คอนดรอยแทนซัลเฟต กรดไฮยาลูรอนิก เฮพาริน เฮพารินซัลเฟต และเคอราตินซัลเฟต
ในสมัยก่อนการตรวจสอบโรคเสื่อมสลายของร่างกายใช้วิธีการตรวจเมทริกซ์นอกเซลล์ การที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเมทริกซนอกเซลล์เป็นการเริ่มต้นของโรคเสื่อมสลายทั้งปวง ขณะที่อายุของเรามากขึ้น หน้าที่ของเซลล์ตระกูลไฟโบรบลาสท์เพื่อผลิตสารคอลลาเจนเริ่มเสื่อมถอย ทำให้สารซึ่งมีลักษณะคล้ายเจลของเมทริกซ์นอกเซลล์ที่คอยปกป้องเซลล์และเนื้อเยื่อจากการถูกกดระหว่างการดำรงชีวิตและการออกกำลังกายมีจำนวนลดลงไปด้วย
สภาวะการขาดคอลลาเจน
วิธีการบำบัดที่เป็นธรรมชาติสำหรับหลอดเลือด หัวใจ และผิวหนัง คือ การสังเคราะห์คอลลาเจน และการปรับโครงสร้างเมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ใหม่ กรดอะมิโนโพรลีน และไลซีนจากคอลลาเจนที่มีอยู่มากมายทำหน้าที่เหมือนเป็นชั้นเทฟลอนรอบๆ อนุภาคแผ่นไลโพโปรตีน และแยกมันออกจากตำแหน่งที่มันตรึงอยู่ในผนังหลอดเลือด และทำให้กระบวนการที่แผ่นไลโพโปรตีนจับตัวเริ่มเกิดในทิศทางตรงกันข้าม นอกจากนี้สารเสริมคอลลาเจนเมื่อใช้ควบกับวิตามินซีจะไปกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซม เพื่อสร้างผนังหลอดเลือดขึ้นใหม่และทำให้แข็งแรงขึ้น ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีได้เลือกใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine ซัลเฟต) มาใช้ในการบำบัดตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 กลูโคซามีนจำเป็นต่อการสังเคราะห์ GAGs การสังเคราะห์กลูโคซามีนมาจากกลูโคสและกลูทามีนในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นแนวโน้มของการสังเคราะห์จะช้าลง GAGs ซึ่งมีสายโซ่ยาว เช่น คอนดรอยแทนซัลเฟต ทำหน้าที่ยับยั้งและมีกระบวนการต่อต้านเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อม การซ่อมแซมแมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ ซึ่งถูกทำลายด้วยโรคข้อต่ออักเสบ ต้องการสารเสริมคอลลาเจนควบคู่กับกลูโคซามีนซัลเฟตสำหรับการทำให้กระบวนการย้อนกลับ
ประโยชน์ของคอลลาเจน
เส้นใยคอลลาเจน ถักทอเข้าด้วยกันคล้ายเส้นด้ายในผืนผ้า เพื่อเกิดเป็นโครงสร้างที่เซลล์ใหม่สามารถเติบโตขึ้นได้ภายใน เมื่อร่างกายต้องการสร้างโครงสร้างที่เป็นเซลล์ใหม่ใดๆ อย่างเช่น กระบวนการสมานแผล คอลลาเจนและส่วนแตกของคอลลาเจนจะมีบทบาทเป็นศูนย์รวม เมื่อวัยของเราสูงขึ้นร่างกายของเราจะผลิตคอลลาเจนช้าลง ภายนอกเราจะเห็นว่าผิวของเราเริ่มเหี่ยวย่นและสูญเสียน้ำนวลของความเป็นหนุ่มสาว ส่วนภายในเราจะรู้สึกถึงความอ่อนแอของโครงสร้างของโครงกระดูกเนื่องจากการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมทั้งเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ สารเสริมคอลลาเจนจำเป็นต่อการเกื้อหนุนร่างกายในช่วงที่เกิดกระบวนการธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อแหล่งสร้างคอลลาเจนของร่างกายลดน้อยลง หลายบริเวณของร่างกายจะได้รับผลกระทบทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดอาการอ่อนเพลีย และการทำงานของร่างกายโดยทั่วไปจะถดถอย การรับประทานสารเสริมคอลลาเจนอาจช่วยร่างกายได้มากกว่าการลดน้ำหนัก มีบางคนสังเกตว่าเมื่อได้รับสารเสริมคอลลาเจน การนอนหลับดีกว่าเดิม มีกำลังเพิ่มขึ้น น้ำเสียงก็ดีขึ้น รู้สึกเป็นหนุ่มเป็นสาว และมีความรู้สึกสบายขึ้นกว่าเดิม ร่างกายก็ดูดี ซึ่งในภาพรวมการเสริมคอลลาเจนมีแนวโน้มที่จะมีดัชนีบวกที่บ่งว่ามันทำงานได้ดีในร่างกาย
คอลลาเจนแลผิวที่เหี่ยวย่น
จากการที่คอลลาเจนเป็นวัตถุที่เสื่อมโทรมและแตกหักได้ มันค่อยๆ เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เซลล์ผิวหนังไฟโพรบลาสท์สามารถผลิตคอลลาเจนได้ หรือเมื่อจำเป็นก็ทดแทนใยคอลลาเจนที่แตกหักด้วยคอลลาเจนใหม่ แต่เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถของผิวที่จะทดแทนคอลลาเจนที่เสียหายก็ลดน้อยลง ช่องว่างและความผิดปกติก็จะเกิดขึ้นในโครงสร้างคอลลาเจน กระบวนการนี้เองที่นำไปสู่ความเหี่ยวย่น หลักการป้องกันและการกำจัด ได้แก่ การลดการเสื่อมสลายของคอลลาเจนและเพิ่มแหล่งให้คอลลาเจน ปัจจัยที่มีส่วนต่อการเสื่อมสลายของคอลลาเจนเร็วขึ้น เช่น แสงอาทิตย์ อนุมูลอิสระ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัย และการสูบบุหรี่
องค์ประกอบและโครงสร้าง
หน่วยย่อยโทรโพคอลลาเจน (topocollagen subunit) มีลักษณะเหมือนหลอดยาวประมาณ 300 นาโนเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นาโนเมตร ประกอบขึ้นด้วยสายโพลีเพพไทด์ 3 สาย แต่ละสายเป็นเกลียววนซ้ายและรวมเข้าด้วยกัน บิดเป็นเกลียวเหมือนขดลวดวนขวา โครงสร้างของมันคงตัวด้วยพันธะไฮโดรเจนจำนวนมหาศาล หน่วยย่อยโทรโพคอลลาเจนเข้ามารวมกันเองเป็นผืนใหญ่ขึ้นในที่ว่างนอกเซลล์ของเนื้อเยื่อ สายเกลียวทั้งสามสายยังเกิดพันธะโควาเลนท์ พันกันไปมาระหว่างสาย และระหว่างหน่วยย่อยด้วยกันทำให้เกิดคอลลาเจนชนิดต่างๆ ที่พบได้ในเนื้อเยื่อที่เจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งเป็นสภาวะที่คล้ายกับแอลฟาเคอราตินในเส้นผม
การจัดเรียงกรดอะมิโนในแต่ละสาย เกลียวทั้งสามสายของหน่วยย่อยคอลลาเจนมีลักษณะพิเศษ ลำดับของกรดอะมิโนมักเป็นแบบนี้ Gly–X–Pro หรือ Gly–X–Hypro (ในที่นี้ Gly = ไกลซีน Pro = โพรลิน Hypro = ไฮดรอกซีโพรลี และ X = กรดอะมิโนอื่นๆ รูปแบบ Gly–Pro–Hypro ก็เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน โครงสร้างที่มีหน่วยซ้ำ ๆ กันแบบนี้และมีปริมาณไกลซีนมากจะพบได้ในโปรตีนชนิดเส้นใยอื่นๆ อยู่ไม่กี่ชนิด เช่น ไฟโพรอินของไหม ไหมมีรูปแบบการจัดเรียงกรดอะมิโน –Gly–Ala–Gly–Ala ประมาณ 75-80% โดยมีเซอรีน 10% อีลาสตินมีไกลซีน โพรลิน และอะลานิน (alanine ) สูงมาก การที่มีไกลซีนสูงๆ และรูปแบบการจัดเรียงซ้ำๆ เป็นปกติเช่นนี้ไม่พบในโปรตีนรูปกลม สายเกลียวทั้งสามอัดกันแน่นภายใต้แรงดึง ต้านทานการยืด จึงทำให้คอลลาเจนไม่ยืดเพราะไกลซีนเป็นกรดอะมิโนที่มีขนาดเล็กที่สุด มันจึงมีบทบาทเด่น ในโปรตีนโครงสร้างที่เป็นเส้นใย ในคอลลาเจน Gly จะอยู่ในทุกๆ ตำแหน่งที่สาม เพราะการรวมตัวของสายเกลียวสามสายจะเก็บส่วนนี้ไว้ด้านใน (แกน) ของสายเกลียวเนื่องจากพื้นที่จำกัด ส่วนวงแหวนของ Pro และ Hypro จะชี้ออกจากสายเกลียว กรดอะมิโนทั้งสองนี้ช่วยให้หน่วยย่อยโพรโทคอลลาเจนเสถียรต่อความร้อน ในกระดูกสายเกลียวสามเส้นที่ควบกันจะวางซ้อนกันเป็นแถวหลวมๆ ช่องว่างระหว่างปลายของหน่วยย่อยโทรโพคอลลาเจนอยู่ห่างกัน 40 นาโนเมตร ซึ่งอาจทำหน้าที่เป็นใจกลาง (นิวเคลียส) สำหรับผลึกของเกลือแร่ซึ่งมีลักษณะละเอียด แข็งและยาว มาจับได้แก่ ผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Ca5(PO4)3(OH)) ที่มีฟอสเฟตอยู่ด้วย กระดูกอ่อนอาจกลายเป็นกระดูกได้ด้วยวิธีนี้ คอลลาเจนให้ความยืดหยุ่นของมันแก่กระดูก จึงมีส่วนช่วยป้องกันกระดูกแตก
คอลลาเจนและเนื้อเยื่อ
ในปัจจุบันเรารู้จักคอลลาเจนที่แตกต่างกันมากว่า 25 ชนิด แต่ละชนิดมีรหัสยีนแตกต่างกัน โดยหลักการคอลลาเจนอาจมีได้มากกว่า 10,000 ชนิด แต่คอลลาเจนที่พิสูจน์ทราบได้แน่นอนแล้วมีเพียง 15 ชนิด คอลลาเจนที่สำคัญในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ได้แก่ คอลลาเจนชนิด I, II, III, V และ IX
คอลลาเจนชนิด I เป็นคอลลาเจนหลักของผิวหนังและกระดูก มีมากที่สุดในร่างกาย (ประมาณ 90% ของคอลลาเจนในร่างกาย) คอลลาเจนชนิด II พบในกระดูกอ่อน คอลลาเจนชนิด III พบในผิวหนัง หลอดเลือด และอวัยวะภายในคอลลาเจนชนิด V เป็นคอลลาเจนที่อยู่ในรูปโครงข่าย ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างโพลีเมอร์ ซึ่งทำให้เกิดเป็นชั้นปกคลุมผิวด้านนอก หรือบุผิวที่เป็นโพรง
เนื้อเยื่อของร่างกายไม่ได้มีเซลล์แต่เพียงอย่างเดียว ปริมาตรที่ว่างส่วนใหญ่ที่อยู่นอกเซลล์ของเนื้อเยื่อซึ่งมีโครงข่ายโมเลกุลขนาดใหญ่เกี่ยวพันกันทำให้เกิดเป็นเมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) เมทริกซ์ประกอบด้วย โปรตีนและโพลีแซคาไรด์ชนิดต่าง ๆ ที่ถูกขับออกมาเป็นหย่อมๆ และรวมกันเข้าเป็นโครงข่าย ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเมทริกซ์มักมีมากกว่าเซลล์ที่มันล้อมรอบอยู่ โมเลกุลขนาดใหญ่ที่ประกอบกันเป็นเมทริกซ์มีต่าง ๆ กัน ทั้งชนิดและปริมาณ ก่อให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ เช่น เมทริกซ์ อาจมีลักษณะแข็งซึ่งเกิดจากการสะสมของเกลือแคลเซียมจนกลายเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่งเหมือนหินอย่างเช่น ฟันหรือกระดูก เมทริกซ์อาจใสอย่างเช่นแก้วตา หรือมันอาจปรับตัวให้มีการจัดเรียงตัวเหมือนเส้นเชือก ทำให้เอ็นเกิดแรงต้านแรงดึงสูงมาก ที่รอยต่อของเยื่อบุหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเมทริกซ์ก่อตัวเป็นชั้นฐานซึ่งเป็นแผ่นเหนียวแต่บาง เมทริกซ์มีบทบาทที่ซับซ้อนและว่องไวต่อการควบคุมให้พฤติกรรมของเซลล์ที่มันสัมผัสอยู่เป็นปกติ โดยมีอิทธิพลต่อการพัฒนา การเคลื่อนย้าย การแพร่กระจาย รูปทรงและการทำหน้าที่ของเซลล์
คอลลาเจนหายไปเมื่อวัยสูงขึ้น
โมเลกุลขนาดใหญ่ที่ประกอบกันเป็นเมทริกซ์ชั้นนอกของเซลล์ถูกขับออกมาจากเซลล์ที่เมทริกซ์ล้อมรอบ ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเกือบทุกชนิด โมเลกุลของเมทริกซ์ถูกขับออกจากเซลล์ที่เรียกว่า ไฟโบรบลาสท์ (fibroblast) ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เฉพาะมากขึ้น เช่น กระดูกอ่อนและกระดูก โมเลกุลของเมทริกซ์ของตระกูลไฟโพบพลาส์ เรียกว่า คอนโดรบลาสท์ (chondroblast) (กระดูกอ่อน) และออสทีบลาสท์ (กระดูก) โมเลกุลที่ประกอบกันเป็นเมทริกซ์นอกเซลล์ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ไกลโคอะมิโนไกลแคน (glycoaminoglycans หรือ GAGs) เป็นสายโซ่โพลีแซคาไรด์ ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับโปรตีนในรูปโพรทีโอไกลแคน ไฟบรัสโปรตีน ซึ่งทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ หน้าที่เกี่ยวกับโครงสร้าง (เช่น คอลลาเจน) และหน้าที่ประสาน (เช่น ลามินิน และไฟโพรเน็กติน)
สารที่ 2 ประเภทมีรูปทรงและขนาดต่างๆ กัน โมเลกุลของสารประเภท GAGs และโพรทีโอไกลแคนในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เกิดเป็นสารพื้นคล้ายเจลที่ชุ่มชื้น มีเฟบรีสโปรตีนฝังอยู่ข้างใน เจลโพลีแซคาไรด์จะต่อต้านแรงที่กดลงบนเมทริกซ์และเส้นใยคอลลาเจนของเมทริกซ์ทำหน้าที่ปรับปรุงแรงต้านแรงดึงให้สูงขึ้น แจลโพลีแซคาไรด์ช่วยให้เกิดการแพร่อย่างรวดเร็วของสารอาหาร สารเมแทบอไลด์ (metabolite) และฮอร์โมนระหว่างเซลล์เลือดและเซลล์เนื้อเยื่อ ใยคอลลาเจนทำให้เมทริกซ์ทั้งแข็งแกร่งและมีความเป็นระเบียบในโครงสร้าง และเส้นใยอีแลสตินที่มีลักษณะคล้ายยางให้ความยืดหยุ่น GAGs เป็นสารประเภทมูโคโพลีแซคาไรด์ (mucopolysacharides) ที่โมเลกุลของมันยาว ตรง และมีประจุสูง มักต่อกับแกนกลางของโปรตีนในเมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ เรียกว่า โพรทีโอไกลแคน ซึ่งได้แก่ คอนดรอยแทนซัลเฟต กรดไฮยาลูรอนิก เฮพาริน เฮพารินซัลเฟต และเคอราตินซัลเฟต
ในสมัยก่อนการตรวจสอบโรคเสื่อมสลายของร่างกายใช้วิธีการตรวจเมทริกซ์นอกเซลล์ การที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเมทริกซนอกเซลล์เป็นการเริ่มต้นของโรคเสื่อมสลายทั้งปวง ขณะที่อายุของเรามากขึ้น หน้าที่ของเซลล์ตระกูลไฟโบรบลาสท์เพื่อผลิตสารคอลลาเจนเริ่มเสื่อมถอย ทำให้สารซึ่งมีลักษณะคล้ายเจลของเมทริกซ์นอกเซลล์ที่คอยปกป้องเซลล์และเนื้อเยื่อจากการถูกกดระหว่างการดำรงชีวิตและการออกกำลังกายมีจำนวนลดลงไปด้วย
สภาวะการขาดคอลลาเจน
วิธีการบำบัดที่เป็นธรรมชาติสำหรับหลอดเลือด หัวใจ และผิวหนัง คือ การสังเคราะห์คอลลาเจน และการปรับโครงสร้างเมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ใหม่ กรดอะมิโนโพรลีน และไลซีนจากคอลลาเจนที่มีอยู่มากมายทำหน้าที่เหมือนเป็นชั้นเทฟลอนรอบๆ อนุภาคแผ่นไลโพโปรตีน และแยกมันออกจากตำแหน่งที่มันตรึงอยู่ในผนังหลอดเลือด และทำให้กระบวนการที่แผ่นไลโพโปรตีนจับตัวเริ่มเกิดในทิศทางตรงกันข้าม นอกจากนี้สารเสริมคอลลาเจนเมื่อใช้ควบกับวิตามินซีจะไปกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซม เพื่อสร้างผนังหลอดเลือดขึ้นใหม่และทำให้แข็งแรงขึ้น ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีได้เลือกใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine ซัลเฟต) มาใช้ในการบำบัดตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 กลูโคซามีนจำเป็นต่อการสังเคราะห์ GAGs การสังเคราะห์กลูโคซามีนมาจากกลูโคสและกลูทามีนในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นแนวโน้มของการสังเคราะห์จะช้าลง GAGs ซึ่งมีสายโซ่ยาว เช่น คอนดรอยแทนซัลเฟต ทำหน้าที่ยับยั้งและมีกระบวนการต่อต้านเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อม การซ่อมแซมแมทริกซ์ที่อยู่นอกเซลล์ ซึ่งถูกทำลายด้วยโรคข้อต่ออักเสบ ต้องการสารเสริมคอลลาเจนควบคู่กับกลูโคซามีนซัลเฟตสำหรับการทำให้กระบวนการย้อนกลับ
ประโยชน์ของคอลลาเจน
เส้นใยคอลลาเจน ถักทอเข้าด้วยกันคล้ายเส้นด้ายในผืนผ้า เพื่อเกิดเป็นโครงสร้างที่เซลล์ใหม่สามารถเติบโตขึ้นได้ภายใน เมื่อร่างกายต้องการสร้างโครงสร้างที่เป็นเซลล์ใหม่ใดๆ อย่างเช่น กระบวนการสมานแผล คอลลาเจนและส่วนแตกของคอลลาเจนจะมีบทบาทเป็นศูนย์รวม เมื่อวัยของเราสูงขึ้นร่างกายของเราจะผลิตคอลลาเจนช้าลง ภายนอกเราจะเห็นว่าผิวของเราเริ่มเหี่ยวย่นและสูญเสียน้ำนวลของความเป็นหนุ่มสาว ส่วนภายในเราจะรู้สึกถึงความอ่อนแอของโครงสร้างของโครงกระดูกเนื่องจากการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมทั้งเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ สารเสริมคอลลาเจนจำเป็นต่อการเกื้อหนุนร่างกายในช่วงที่เกิดกระบวนการธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อแหล่งสร้างคอลลาเจนของร่างกายลดน้อยลง หลายบริเวณของร่างกายจะได้รับผลกระทบทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดอาการอ่อนเพลีย และการทำงานของร่างกายโดยทั่วไปจะถดถอย การรับประทานสารเสริมคอลลาเจนอาจช่วยร่างกายได้มากกว่าการลดน้ำหนัก มีบางคนสังเกตว่าเมื่อได้รับสารเสริมคอลลาเจน การนอนหลับดีกว่าเดิม มีกำลังเพิ่มขึ้น น้ำเสียงก็ดีขึ้น รู้สึกเป็นหนุ่มเป็นสาว และมีความรู้สึกสบายขึ้นกว่าเดิม ร่างกายก็ดูดี ซึ่งในภาพรวมการเสริมคอลลาเจนมีแนวโน้มที่จะมีดัชนีบวกที่บ่งว่ามันทำงานได้ดีในร่างกาย
คอลลาเจนแลผิวที่เหี่ยวย่น
จากการที่คอลลาเจนเป็นวัตถุที่เสื่อมโทรมและแตกหักได้ มันค่อยๆ เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เซลล์ผิวหนังไฟโพรบลาสท์สามารถผลิตคอลลาเจนได้ หรือเมื่อจำเป็นก็ทดแทนใยคอลลาเจนที่แตกหักด้วยคอลลาเจนใหม่ แต่เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถของผิวที่จะทดแทนคอลลาเจนที่เสียหายก็ลดน้อยลง ช่องว่างและความผิดปกติก็จะเกิดขึ้นในโครงสร้างคอลลาเจน กระบวนการนี้เองที่นำไปสู่ความเหี่ยวย่น หลักการป้องกันและการกำจัด ได้แก่ การลดการเสื่อมสลายของคอลลาเจนและเพิ่มแหล่งให้คอลลาเจน ปัจจัยที่มีส่วนต่อการเสื่อมสลายของคอลลาเจนเร็วขึ้น เช่น แสงอาทิตย์ อนุมูลอิสระ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัย และการสูบบุหรี่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)